วินัย
วินัย Discipline หมายถึง
เครื่องควบคุมพฤติกรรมของคน
วินัยตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พ.ศ. 2542 หมายถึง ระเบียบแบบแผนและข้อบังคับ
ข้อปฏิบัติ
วินัย คือ ระเบียบ
กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ สำหรับควบคุมความประพฤติทางกาย วาจา
ของคนในสังคมให้เรียบร้อยดีงาม เป็นแบบแผน
อันหนึ่งอันเดียวกัน จะได้อยู่ร่วมกันด้วยความสุขสบาย
ไม่กระทบกระทั่งซึ่งกันและกัน วินัยช่วยให้คนในสังคมห่างไกลจากความชั่วทั้งหลาย
การอยู่ร่วมกันเป็นหมู่เหล่า
ถ้าขาดระเบียบวินัย ต่างคนต่างทำตามอำเภอใจ ความขัดแย้งและลักลั่นก็จะเกิดขึ้น
ยิ่งมากคนก็ยิ่งมากเรื่อง ไม่มีความสงบสุข การงานที่ทำก็จะเสียผล
ดอกไม้จำนวนมากที่วางรวมกัน
หากวางอยู่ระเกะระกะกระจัดกระจาย ก็จะด้อยค่าลง ทั้งยังทำให้รกรุงรังอีกด้วย
แต่เมื่อเรานำดอกไม้เหล่านี้มาร้อยรวมเข้าด้วยกันด้วยเส้นด้าย
ดอกไม้เหล่านี้ก็จะกลายเป็นพวงมาลัยอันงดงาม
เหมาะที่จะนำไปประดับตกแต่งให้เจริญตาเจริญใจ
ถ้าประชาชนแต่ละคนเป็นเสมือนดอกไม้แต่ละดอก
เส้นด้ายที่ใช้ร้อยดอกไม้ให้รวมกันยู่ออย่างมีระเบียบงดงามนั้นก็เปรียบ
เสมือนวินัย
วินัยจึงเป็นสิ่งที่ใช้ควบคุมคน ให้คนเราใช้ความรู้ความสามารถไปในทางที่ถูกที่ควร คือทำคนให้เป็นคน “ฉลาดใช้”นั่นเอง
ชนิดของวินัย
คนเรามีส่วนประกอบสำคัญอยู่
2 อย่าง คือร่างกายกับจิตใจ
ร่างกาย
ของเราขึ้นอยู่กับระบบโลก ต้องพึ่งโลก ร่างกายจึงจะเจริญ
จิตใจ ของเราขึ้นอยู่กับระบบธรรม ต้องพึ่งธรรม จิตใจจึงจะเจริญ
เพื่อให้ชีวิตและจิตใจเจริญทั้ง
2 ทาง เราจึงต้องดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกันทั้ง 2 ด้านด้วย
ผู้ที่ฉลาดรู้ ก็ต้องศึกษาให้รู้ ทั้งทางโลกและทางธรรม
ผู้ที่ฉลาดทำ ก็ต้องทำให้เป็นให้ถูกต้อง ทั้งทางโลกและทางธรรม
เช่นกัน ผู้ที่ฉลาดใช้
ก็ต้องมีวินัยทางโลกและวินัยทางธรรมคอยช่วยกำกับความรู้และความสามารถเอาไว้
วินัยข้าราชการอาจแยกได้ 2 ความหมาย
1. หมายถึง ระเบียบ กฎเกณฑ์
และแบบแผนความประพฤติที่ทางรายการกำหนดให้ยึดถือปฏิบัติ
2. หมายถึง ลักษณะเชิงพฤติกรรมที่ข้าราชการแสดงออกมาในทางที่ถูกที่ควร
หรือแบบแผนที่ทางราชการกำหนดไว้
สรุป วินัย หมายถึง กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ แบบแผนความประพฤติที่ควบคุมพฤติกรรมของคนในองค์กรให้ไปในแนวทางที่พึงประสงค์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น